เนเธซเธฅเนˆเธ‡เธฃเธงเธก เธ˜เธธเธฃเธเธดเธˆ เธšเธฃเธดเธฉเธฑเธ— เธซเน‰เธฒเธ‡เธฃเน‰เธฒเธ™ เนเธฅเธฐ เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ เธเธฒเธฃเธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธง เนƒเธ™เนเธ–เธš เธญเธฑเธ™เธ”เธฒเธกเธฑเธ™
 
เน€เธ‚เน‰เธฒเธชเธนเนˆเธฃเธฐเธšเธš G! Builder
เน€เธฅเธทเธญเธเธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”

ข้อมูลทั่วไป ประวัติ อาหารอร่อย สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล และ งานประเพณี

ภูเก็ต : กระบี่ : ระนอง : ตรัง : พังงา : สตูล

ข้อมูลทั่วไป สตูล

จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน คำว่า “สตูล” มาจากคำภาษามลายูว่า “สโตย” แปลว่ากระท้อนซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง “นครสโตยมำบังสการา” (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น “ตราพระสมุทรเทวา” จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

ข้อมูลทั่วไป สตูลข้อมูลทั่วไป สตูลข้อมูลทั่วไป สตูล

ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดสุดเขตแดนใต้ของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้าน ตะวันตกอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา และ 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา และ 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยเส้นทางรถยนต์ 973 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,807.522 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับ 1,754,701 ไร่ พื้นที่ส่วนที่เป็นเกาะประมาณ 105 เกาะ มีชายฝั่งทะเลยาว 144.80 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

จังหวัดสตูล มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ ติดอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง และอำเภอปะเหลียนจังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก ติดอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย
ทิศใต้ ติดรัฐเปอร์ลิสและรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันตก ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

ภูมิประเทศ
จังหวัดสตูลมีลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขา โดยทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นเนินเขาและภูเขามากมาย สลับซับซ้อน มีเทือกเขาที่สำคัญแบ่งเขตประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย คือ เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาสันกาลาคีรี พื้นที่ค่อยๆ ลาดลงสู่ทะเลทางทิศตะวันตกและทิศใต้ โดยยังมีภูเขาน้อยใหญ่อยู่กระจัดกระจายในตอนล่าง ภูเขาที่สำคัญได้แก่ เขาจีน เขาบารัง เขาใหญ่ เขาทะนาน และเขาพญาวัง

ภูมิอากาศ
พื้นที่จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือฤดูร้อนกับฤดูฝน โดยมีช่วงฤดูฝนที่ยาวนานระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคมและมีช่วงฤดูร้อนเพียง 4 เดือน คือเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ระหว่างปี 2545 -2549 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ประมาณ 2,223.2 มม. ตกชุกที่สุดในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 33.05 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23.84 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 37.4 องศาเซลเซียสเมื่อเดือนมีนาคม 2549 และอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 20.0 องศาเซลเซียสเมื่อเดือนมกราคม 2549

การปกครอง
จังหวัดสตูล แบ่งการปกครองส่วนภูมิภาคเป็น 7 อำเภอ 36 ตำบล 279 หมู่บ้าน 7 เทศบาล (1 เทศบาลเมือง 6 เทศบาลตำบล) 34 อบต.

  1. อำเภอเมืองสตูล
  2. อำเภอควนโดน
  3. อำเภอควนกาหลง
  4. อำเภอท่าแพ
  5. อำเภอละงู
  6. อำเภอทุ่งหว้า
  7. อำเภอมะนัง

ประชากร
จังหวัดสตูลเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนใหญ่ นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีมากถึง 67.8% ส่วนรองลงมาคือชาวพุทธซึ่งมีอยู่ 31.9% และที่เหลือคือศาสนาคริสต์ ซึ่งศาสนิกส่วนใหญ่อยู่ในเขตอำเภอเมืองสตูล ถึงแม้ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม แต่ประชากรส่วนใหญ่จะเป็นชาวไทยโดยมาก จะมีชาวไทยเชื้อสายมลายู รวมถึงมลายู เพียงแค่ 9.9% ของประชากรเท่านั้น

ประชากร ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 รวมทั้งสิ้น 280,643 คน ชาย 139 ,864 คน หญิง 140,779 คน

ประวัติ สตูล

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูลในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยนั้น ไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบชายฝั่งทะเล

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า “ตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น”

เรื่องเกี่ยวกับเมืองสตูลยังปรากฏในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฏบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมือง ตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รักษาเมืองไทรบรี เมืองเปอร์ลิส และเมืองสตูลเป็นมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า “มณฑลไทรบุรี” โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับสหพันธรัฐมาลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๒) จากหนังสือสัญญานี้ยังผลให้ไทรบุรีและปลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนสตูลคงเป็นของไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อปักปันเขตแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๘ (พ.ศ. ๒๔๕๓)

ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งอยู่ในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนถึงกระทั่งทุกวันนี้

คำว่า ”สตูล” มาจากคำภาษามาลายูว่า “สโตย” แปลว่ากระท้อน อันเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่เมืองนี้ ซึ่งต่อมาได้รับการตั้งสมญานามเป็นภาษามาลายูว่า “นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) “ หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น “ตราพระสมุทรเทวา” จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

จังหวัดสตูล แม้จะอยู่รวมกับไทรบุรีในระยะเริ่มแรกก็ตาม แต่จังหวัดสตูลก็เป็นจังหวัดที่มีดินแดนรวมอยู่ในประเทศไทยตลอดมา ระยะแรก ๆ จังหวัดสตูล แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๑ กิ่งอำเภอ คือ อำเภอมำบัง อำเภอทุ่งหว้า และกิ่งอำเภอละงู ซึ่งอยู่ในการปกครองของอำเภอทุ่งหว้า ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอมำบังเป็นอำเภอเมืองสตูล สำหรับอำเภอทุ่งหว้า ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเจริญรุ่งเรืองมาก มีเรือกลไฟจากต่างประเทศติดต่อ ไปมาค้าขายและรับส่งสินค้าเป็นประจำ สินค้าสำคัญของอำเภอทุ่งหว้า คือ “พริกไทย” เป็นที่รู้จักเรียกตามกันในหมู่ชาวต่างประเทศว่า”อำเภอสุไหวอุเป “ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๗ การปลูกพริกไทยของอำเภอทุ่งหว้าได้ลดปริมาณลง ชาวต่างประเทศที่เข้ามาทำการค้าขายต่างพากันอพยพกลับไปยังต่างประเทศ ราษฎรในท้องที่ก็พากันอพยพไปหาทำเลทำมาหากินในท้องที่อื่นกันมาก โดยเฉพาะได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งที่กิ่งอำเภอละงูมากขึ้น ทำให้ท้องที่กิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้นอย่างรวมเร็ว และในทางกลับกัน ทำให้อำเภอทุ่งหว้าซบเซาลง

ครั้งถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ ทางราชการพิจารณาเห็นว่ากิ่งอำเภอละงูเจริญขึ้น มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นกว่าอำเภอทุ่งหว้า จึงได้ประกาศยกฐานกิ่งอำเภอละงูเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอละงู และยุบอำเภอทุ่งหว้าเดิมเป็นกิ่งอำเภอทุ่งหว้า เรียกว่า กิ่งอำเภอทุ่งหว้า ขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอละงู ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ กิ่งอำเภอทุ่งหว้า จึงได้รับสถานะเดิมกลับคืนมาเป็นอำเภอทุ่งหว้า

สถานที่ท่องเที่ยว สตูล

  • มัสยิดกลางจังหวัดสตูล
  • คฤหาสน์กูเด็น
  • สวนสาธารณะเขาพญาวัง
  • เขาโต๊ะยะกง
  • น้ำตกปาหนัน
  • แหลมตันหยงโป และหาดทรายยาว
  • หมู่เกาะสาหร่าย
  • เกาะตะรุตา
  • เกาะไข่
  • หมู่เกาะอาดัง-ราวี
  • เกาะหลีเป๊ะ
  • เกาะหินงาม
  • เกาะดง
  • อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา
  • เกาะลิดี
  • อ่าวก้ามปู
  • หาดกาสิงห์
  • เกาะเขาใหญ่
  • เกาะบุโหลน
  • หาดราไว
  • ถ้ำเขาทะนาน
  • ฝายชลประทานดุสน
  • เขตแดนไทย-มาเลเซีย
  • ถ้ำลอดปูยู
  • น้ำตกโตนปลิว
  • ทุ่งหญ้าวังประ
  • น้ำตกรานี

เทศกาล งานประเพณี สตูล

1.งานมหกรรมเทศกาลโรตีของดีเมืองสตูล
เป็นการแสดงและจำหน่ายโรตีของจังหวัดสตูล ที่มีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะการจัดทำโรตีลอยฟ้า การโชว์ชาชัก โดยจะจัดเดือนมกราคมของทุกปี

2.งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล
จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความสัมพันธ์อันดี กับประเทศเพื่อนบ้านโดย จะจัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ ของทุกปี ณ บริเวณสนามบินสตูล ก่อนถึงเขตเทศบาลเมืองสตูลประมาณ 4 ก.ม.

3.งานแข่งขันการตกปลา
“ตะรุเตา - อาดัง ฟิชชิ่งคัพ” เป็นการแข่งขันตกปลาที่มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีการแห่ขบวนมัจฉา การประกวดหุ่นปลา และการแสดงศิลปพื้นบ้านของชาวสตูล จัดเดือนมีนาคมของทุกปี

4.งานวันข้าวโพดหวานอำเภอท่าแพ
เป็นงานประจำปีของอำเภอ ภายในงานมีการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ คือ ข้าวโพดหวาน ซึ่งมีรสชาดหวานอร่อย จัดประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี

5.งานวันเมาลิดกลางจังหวัดสตูล
เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด เพื่อเป็นการส่งเสริมสถาบันศาสนาอิสลามและเพื่อผนึกกำลังของพี่น้องมุสลิมในการร่วมกันแก้ปัญหาที่สำคัญของจังหวัด จัดเดือน พฤษภาคม ของทุกปี

6.งานประเพณีลอยเรือของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ
ซึ่งทำกันปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือน 6 (พฤษภาคม) และเดือน 12 (พฤศจิกายน) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลอยบาปและเป็นการเสี่ยงทายในการประกอบอาชีพ

7.งานวันจำปาดะและของดีเมืองสตูล
เป็นการแสดงสินค้าผลิตผลด้านการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ที่สำคัญของจังหวัด จัดเดือน กรกฎาคม ของทุกปี

8.งานมหกรรมอาหารจานเด็ดและของดีเมืองสตูล
เป็นงานแสดงฝีมือการทำอาหารพื้นบ้านของชาวสตูล ภายในงานมีอาหารจำหน่ายจำนวนมากล้วนเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ของจังหวัดสตูล โดยจะจัดงานประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี

9.งานประเพณีถือศีลกินเจ
เป็นงานประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสตูล จัดขึ้นประมาณเดือนกันยายนของทุกปี ณ บริเวณศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง อำเภอเมืองสตูล

10.งานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดสตูล
มีเป้าหมายหลักเพื่อท่องเที่ยว ณ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ที่มีหาดสวย น้ำใส หาดทรายขาว เช่น เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ โดยเฉพาะเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ชมการแข่งขันหนีนรกตะรุเตา ชมการแสดงแสง สี เสียง และวิถีชีวิตของชาวเล จัดเดือนธันวาคมของทุกปี

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
เธ—เธฐเน€เธšเธตเธขเธ™เธžเธฒเธ“เธดเธŠเธขเนŒเธญเธตเน€เธฅเธ„เธ—เธฃเธญเธ™เธดเธ„เธชเนŒ เน€เธฅเธ‚เธ—เธตเนˆ 8373549000215