ข้อมูลทั่วไป ประวัติ อาหารอร่อย สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล และ งานประเพณี
ภูเก็ต : กระบี่ : ระนอง : ตรัง : พังงา : สตูล
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านตะวันตกของภาคใต้ ที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7˚45' ถึง 8˚15' เหนือ และเส้นแวงที่ 98˚15' ถึง 98˚40' ตะวันออกห่างจากกรุงเทพฯ 862 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 4 สายเพชรเกษม และทางหลวงหมายเลข 402 สายโคกลอย ภูเก็ต (ในเขตภูเก็ต คือ ถนนเทพกระษัตรี) พื้นที่ทั้งหมดประกอบด้วยเกาะใหญ่ และเกาะบริวารอีก 32 เกาะ มีพื้นที่รวมกันทั้งหมดประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร โดยตัวเกาะใหญ่มีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร มีความกว้างจากตะวันออกไปตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร
จังหวัดภูเก็ตอยู่ในกลุ่ม 6 จังหวัดฝั่งทะเลตะวันตกหรือทะเลอันดามัน คือ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ด้านการปกครอง
จังหวัดภูเก็ต ได้จัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านดังนี้
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น ดังนี้
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูเก็ต มีรูปร่างเป็นเกาะเรียวยาวจากเหนือไปใต้ มีเกาะบริวารน้อยใหญ่ล้อมรอบพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 70 เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา มีเทือกเขาทอดยาวในแนวเหนือใต้ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร เป็นแนวกำบังลมและฝน ทำให้ภูเก็ตปลอดภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ประมาณร้อยละ 30 เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณตอนกลางและตะวันออกของเกาะ โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกมีสภาพเป็นหาดโคลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขาและหาดทรายที่สวยงาม และบริเวณที่เป็นที่ราบตัดจากภูเขาลงมามีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอนลักษณะลูกคลื่นลอนลาด และต่อจากบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่สำคัญ คือ เทศบาลนครภูเก็ต ชุมชนฉลอง ชุมชนราไวย์ และชุมชนเกาะแก้วเป็นต้น
ลักษณะประชากร
จังหวัดภูเก็ต ในอดีตเจ้าถิ่นเดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวน้ำ ชาวเล หรือ ชาวไทยใหม่ ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามา สำหรับชาวไทยได้มีการอพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้นทำให้สามารถยึดครองภูเก็ตได้มากกว่าชาติอื่น กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่เข้ามาสู่พื้นที่ภูเก็ตและมีส่วนสำคัญต่อการผสมผสานและสืบต่อวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตจนมาถึงปัจจุบัน
จำนวนประชากร
การกระจายตัวและความหนาแน่นประชากร
จากการพิจารณาจำนวนประชากร การกระจายตัวและความหนาแน่นของประชากรจะเห็นได้ว่า เมืองมีความหนาแน่นประชากรต่อการใช้พื้นที่สูง และมีแนวโน้มขยายตัวของประชากรออกไปในพื้นที่เชื่อมต่อที่อยู่นอกเขตเทศบาลนครภูเก็ตมากขึ้น
สภาพเศรษฐกิจและการจ้างงาน
จำแนกตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจจังหวัดภูเก็ต พบว่า ประชากรส่วนใหญ่ของภูเก็ตประมาณร้อยละ 24 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดทำงานในภาคธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร รองลงมาร้อยละ 19 ทำงานเกี่ยวกับการขายปลีก และประมาณร้อยละ 5 10 เท่านั้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งแตกต่างจากโครงสร้างการจ้างงานของประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
ภูเก็ต หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นโดยสิ้นเชิง คือ เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ชื่อ ภูเก็ต เป็นคำที่เขียนสะกดผิดพลาดมาจากคำว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลว่าภูเขาแก้ว ส่วนคำว่า ถลาง มาจากคำ Junk Ceylon, Silan, สลาง และฉลาง ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต
เดิม คำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง
จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น กษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ต่างๆ จนมาถึงเมืองถลาง ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภริยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร
ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิก ระบอบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยวส่วนมากในจังหวัดภูเก็ตจะเป็นชายหาดต่าง ๆ ที่อยู่ในอำเภอถลาง อำเภอกะทู้ และอำเภอเมืองภูเก็ต ได้แก่
งานท้าวเทพกษัตรีย์
ท้าวศรีสุนทร ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม ในงานเฉลิมฉลองนี้ มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เพื่อสดุดีในวีรกรรมของท่านครั้งเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ที่สองวีรสตรี สามารถปกป้องเมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของท่าน
งานประเพณีปล่อยเต่า
ตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ กรมประมงได้กำหนดให้ เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้น ไปลงทะเล โดยจะจัดงานขึ้นที่หาดไนยาง ซึ่งเป็นบริเวณที่เต่าขึ้นมาวาง ไข่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังมีการละเล่นพื้นบ้าน กีฬาทางน้ำ และ นิทรรศการเกี่ยวกับเต่าทะเลให้ชมกันในงานด้วย
เทศกาลอาหารทะเล
จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของ จังหวัดภูเก็ต และเป็นการเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาภูเก็ตในฤดู ฝน กิจกรรมต่างๆ ในงานได้แก่ การประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่อง เที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและอาหารทะเล สาธิตการประกอบอาหารประจำภาค นิทรรศการแสดงวิถีชีวิตความเป็น อยู่ของชาวเล การประกวดสาวงาม และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
งานผ้อต่อ
เป็นประเพณีของชาวภูเก็ตเชื้อสายจีน โดยในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือ เดือน 9 ของไทย จะมีพิธีไหว้บรรพบุรุษด้วยเครื่องเซ่นต่าง ๆ และมี ขนมชนิดหนึ่งเป็นรูปเต่าขนาดต่าง ๆ ทำด้วยแป้งทาสีแดง คนจีนเชื่อว่า เต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการเซ่นไหว้ด้วยขนมรูปเต่าจึงเป็นการต่อ อายุให้ตนเอง และถือเป็นกุศลที่
เทศกาลกินเจ
กำหนดจัดในวันขึ้น 1-9 ค่ำเดือน 9 ของจีน ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือน กันยายน - ตุลาคม ระหว่างถือศีลกินเจ ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาล เจ้า มีพิธีกรรมแสดงอภินิหารตามความเชื่อ เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด เป็น ต้น มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่าง ๆ โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุด ประทัดไปตลอดทาง ประเพณีนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและ เทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้มครองชาวภูเก็ตตลอดไป
มหกรรมไตรกีฬา
จัดขึ้นที่ ลากูน่า ภูเก็ต ในเดือนตุลาคม มีการแข่งขันว่ายน้ำ 1.8 กม. ปั่นจักรยาน 55 กม. และวิ่ง 12 กม. และมีการถ่ายทอดสดทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ
งานประเพณีลอยเรือชาวเล
เป็นพิธีที่จัดขึ้นในกลางเดือน 6 และ 11 โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวย์และ บ้านสะปำ จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือ เป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มี การสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้เป็นรูปคนใส่ลง ไปในเรือแล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่าง ๆ ออก ไปสู่ทะเล มีการเต้นรำสนุกสนานรอบลำเรือ ที่เรียกว่า "รำรองเง็ง" นั่นเอง
เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว
จังหวัดภูเก็ต ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายนโดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี 2528 ณ หาด ป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่ง เสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่าง ๆ หน่วย งานราชการและประชาชน ในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น พิธีตัก บาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามโดยคัด เลือกจากนักท่องเที่ยวชาติต่าง ๆ
งานแข่นขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน
เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ. ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และ หลังจากนั้นจึงกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาซึ่งตรง กับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการ แข่งขันที่บริเวณหาดในหาน เพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ