เนเธซเธฅเนˆเธ‡เธฃเธงเธก เธ˜เธธเธฃเธเธดเธˆ เธšเธฃเธดเธฉเธฑเธ— เธซเน‰เธฒเธ‡เธฃเน‰เธฒเธ™ เนเธฅเธฐ เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ เธเธฒเธฃเธ—เนˆเธญเธ‡เน€เธ—เธตเนˆเธขเธง เนƒเธ™เนเธ–เธš เธญเธฑเธ™เธ”เธฒเธกเธฑเธ™
 
เน€เธ‚เน‰เธฒเธชเธนเนˆเธฃเธฐเธšเธš G! Builder
เน€เธฅเธทเธญเธเธˆเธฑเธ‡เธซเธงเธฑเธ”

ข้อมูลทั่วไป ประวัติ อาหารอร่อย สถานที่ท่องเที่ยว เทศกาล และ งานประเพณี

ภูเก็ต : กระบี่ : ระนอง : ตรัง : พังงา : สตูล

ข้อมูลทั่วไป ระนอง

จังหวัดระนองเป็นจังหวัดภาคใต้ตอนบน ด้านทิศตะวันตกติดกับทะเลอันดามัน และ ประเทศพม่า โดยมีระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ( ถนนเพชรเกษม ) ประมาณ 568 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 3,298.045 ตารางกิโลเมตร ( 2,061,278 ไร่ ) เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับที่ 60 ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ราบ 14% และภูเขา 86 % มีเกาะใหญ่น้อยในทะเล อันดามัน จำนวน 62 เกาะ และมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอเมือง,อำเภอสวี,อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และอำเภอไชยา , อำเภอท่าฉาง , อำเภอบ้านตาขุน และกิ่งอำเภอวิภาวดี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และอำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ติดต่อกับ ประเทศพม่า และทะเลอันดามัน

ข้อมูลทั่วไป ระนองข้อมูลทั่วไป ระนองข้อมูลทั่วไป ระนอง

การปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองระนอง
  2. อำเภอละอุ่น
  3. อำเภอกะเปอร์
  4. อำเภอกระบุรี
  5. อำเภอสุขสำราญ

ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดระนองมีลักษณะรูปร่างเรียวยาว แคบ จากทิศเหนือสุดจดใต้สุดยาว 169 กิโลเมตร มีส่วนที่กว้างที่สุดที่เป็นพื้นดิน ประมาณ 25 กิโลเมตร และมีส่วนที่แคบที่สุด 9 กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศประกอบด้วย ทิวเขา หุบเขาสลับซับซ้อน และเป็นป่าปกคลุม ทางทิศตะวันออกของจังหวัด พื้นที่ลาดเอียงลงสู่ทะเลอันดามันทางทิศตะวันตก ภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด คือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง สูง 1,700

ลักษณะภูมิอากาศ
อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์
จังหวัดระนองได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองฤดู ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมาก อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 28.01 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 35.13 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.16 องศาเซลเซียส เดือนเมษายน เป็นเดือนที่มีอากาศร้อนที่สุด เคยตรวจวัดอุณหภูมิสูงสุดได้ที่ 39.6 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2516 และอุณหภูมิต่ำสุดได้ที่ 13.70 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2499 นอกจากนี้อิทธิพลของมรสุมทั้งสองฤดู ทำให้บริเวณจังหวัดมีความชุ่มชื้นและความชื้นสัมพัทธ์สูงเป็นเวลานาน โดยความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีประมาณ 77.05% ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 95% ต่ำสุดเฉลี่ย 46.90/%

ลมมรสุมและลมพายุเขตร้อน
ลมมรสุม ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลอมประเทศไทยระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกบริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมาก และฝนตกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลจังหวัดระนอง และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
พายุเขตร้อน มีชื่อเรียกแต่งต่างกันไป ตามแหล่งกำเนิด ส่วนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศของประเทศไทย ส่วนใหญ่มีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก และทะเลจีนใต้ เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อน ทั้ง 2 ด้าน ด้านตะวันออก คือ มหาสมุทรแปซิฟิก และทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตก คือ อ่างเบงกอลและทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจาก มหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกมากกว่าตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดระนอง เป็นแนวที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านจากตะวันออกสู่ทะเลอันดามันหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 พายุหมุ่ยฟ้า ได้เคลื่อนผ่าน แต่ขนาดและความเร็วลดลงไปมากทำให้ได้รับความเสียหาย หรือมีผลกระทบเพียงเล็กน้อย

ลักษณะฤดูกาล
ฤดูกาลของจังหวัดระนอง แบ่งตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทยออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของ ฤดูมรสุม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้อากาศร้อนทั่วไป อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนัก เนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศกลายความร้อนลงไปมาก
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านภาคใต้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนตกมากตลอดฤดู และเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม จะมีฝนตกชุกที่สุดในรอบปี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไปและมีอากาศหนาวเย็น แต่เนื่องจากจังหวัดระนองอยู่ใกล้ทะเลอุณหภูมิจึงลดลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว อากาศไม่สู้จะหนาวเย็นมากนัก และตามชายฝั่งจะมีฝนตกทั่วไปแต่มีปริมาณไม่มาก

ประวัติ ระนอง

ประวัติ ระนองระนอง หรือเมืองแร่นอง เดิมเป็นหัวเมืองเล็กๆ มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เมือง คือ เมืองระนอง และเมืองตระ ซึ่งอยู่ในการปกครองของเมืองชุมพร

เจ้าเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวง เรียกชื่อตามนามเมืองว่า “หลวงระนอง” ครั้นต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวจีนฮกเกี้ยน ชื่อ “คอซู้เจียง” ได้ยื่นขอประมูลอากรดีบุกในเขตเมืองระนองและเมืองตระ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดอนุญาตพร้อมกับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้คอซู้เจียงเป็น หลวงรัตนเศรษฐี ดำรงตำแหน่งนายอากรเมืองตระ และ เมืองระนอง

ในปี 2397 ตำแหน่งเจ้าเมืองระนองว่างลง เนื่องจากหลวงระนองป่วยถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์ หลวงรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระรัตนเศรษฐี เป็นเจ้าเมืองระนอง เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ และรัฐบาลอังกฤษได้จัดการปกครองหัวเมือง ที่ได้ไปจากพม่าเข้มงวดกวดขันขึ้น โดยลำดับมาถึงเขตต่อแดนพระราชอาณาเขตทางทะเลตะวันตก

ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่าเมืองระนองและเมืองตระ เป็นเมืองขึ้นอยู่ในเมืองชุมพรจะรักษาราชการทางชายแดนไม่สะดวก จึงโปรดฯ ให้ยกเมืองตระและเมืองระนอง เป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานครและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระรัตนเศรษฐี (คอซู้เจียง) ขึ้นเป็นพระยารัตนเศรษฐี เป็นผู้ว่าราชการเมืองระนอง เมื่อ พ.ศ. 2405 และ ในปี พ.ศ. 2420 สมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี ระนองมีฐานะเป็นหัวเมืองอิสระ และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดและได้มีการยุบเมืองตระเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอกระบุรี โดยให้ขึ้นกับจังหวัดระนองตั้งแต่นั้นมา ระนองในอดีตนั้นมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองดีบุก เมืองชายแดน เมืองคอคอดกระ และเมืองเสด็จประทับแรม ดังนี้

1. เมืองดีบุก
ระนองมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีชื่อเรียกกันในสมัยโบราณว่าตะกั่วดำหรือดีบุกอยู่ใต้แผ่นดินเป็นจำนวนมาก จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองดีบุกมีแร่ดีบุกมีค่าอุดมสมบูรณ์ และเป็นเมืองแรกที่มีเจ้าของเหมืองแร่ (นายนอง) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงระนอง เจ้าเมืองคนแรก ซึ่งเป็นนายอากรแต่โบราณ ในการผูกขาดส่งอากรดีบุกให้รัฐบาล นับว่าได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศที่สำคัญต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

2. เมืองชายแดน
การที่ไทยต้องเสียดินแดนเมืองมะริดรวมทั้งเมืองมะลิวัลย์แก่อังกฤษและได้มีการปักปันเขตแดนไทย โดยใช้แม่น้ำกระบุรีเป็นเส้นกั้นพรมแดนในปี พ.ศ. 2442 มีผลให้เมืองระนอง และเมืองตระ ซึ่งมีฐานะเป็นอำเภอในปกครองของจังหวัดระนอง มีความสำคัญในฐานะเป็นเมืองชายแดนมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองขึ้นของอังกฤษทางด้านทะเลตะวันตก และมีความสำคัญในฐานะเป็นศูนย์รวมของการไปมาหาสู่และซื้อขายสินค้าระหว่างไทยกับพม่าซึ่งเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ เมื่อพม่าได้รับเอกราชพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษการไปมาหาสู่และการซื้อขายสินค้าระหว่างคนไทยและพม่าทางชายแดนจังหวัดระนองนำความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ให้จังหวัดชายแดนทั้งสองประเทศจนถึงปัจจุบัน

3. เมืองคอคอดกระ
พื้นที่บริเวณคอคอดกระ เป็นผืนแผ่นดินที่กิ่วหรือแคบที่สุดในแหลมมลายู ระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร พื้นที่ด้านตะวันตกของบริเวณคอคอดกระ ตั้งอยู่ในเขตปกครองของเมืองตระ มาแต่เดิม ผืนแผ่นดินส่วนที่แคบที่สุดระหว่างทะเลตะวันตกและทะเลตะวันออกแห่งนี้ มีภูเขาสลับซับซ้อนมีทางลัดผ่านช่องเขาเพียงสายเดียว ในสมัยโบราณคอคอดกระ มีความสำคัญเป็นเส้นทางที่สำคัญทางเดียวที่พม่าใช้เป็นเส้นทางเดินทัพ ยกมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝั่งทะเลตะวันออก เมื่อฝรั่งเศสคิดจะขุดคลองกระจากเมืองตระไปออกเมืองชุมพร เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเดินเรือจากยุโรปไปเมืองจีนในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคอคอดกระจึงมีความสำคัญมากขึ้น หากสามารถขุดคลองได้สำเร็จ เรือเดินทะเลจากยุโรป จะผ่านคลองไปเมืองจีนได้ โดยไม่ต้องอ้อมแหลมมลายู ผลประโยชน์ทางการค้าของอังกฤษทางเมือง ปีนังและสิงคโปร์ และความจำเป็นทางด้านการทหารของอังกฤษ คงมีผลให้ไทยต้องเสียดินแดนทางแหลมมลายู ด้วยเหตุดังกล่าวประกอบกับการขุดคลองกระ จึงจำเป็นต้องขุดแม่น้ำกระบุรี ซึ่งเป็นเส้นกั้นพรมแดนไทยกับพม่าของอังกฤษให้กว้างลึกเข้าไปในดินแดนอันอยู่ในอำนาจของอังกฤษด้วย เมื่ออังกฤษไม่ยอม จึงขุดคลองคอคอดกระไม่ได้ ความคิดที่จะขุดคลองกระ จึง ล้มเลิกไป อังกฤษจึงได้กำหนดเป็นข้อผูกพันไว้ในสนธิสัญญาระหว่างไทยกับอังกฤษมิให้ไทยขุดคลองดังกล่าวโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากของอังกฤษก่อน การขุดคลอง ณ บริเวณคอคอดกระ มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง แต่กระทบต่อความมั่นคง ของชาติทางด้านการทหาร บริเวณคอคอดกระเหมาะสมแก่การขุดคลองเพียงไร คุ้มค่าในการลงทุน แค่ไหนเป็นเรื่องที่ควรแก่การศึกษา คอคอดกระจึงยังอยู่ในความสนใจทั้งทางราชการและประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน

4. เมืองเสด็จประทับแรม
พระมหากษัตริย์ไทยในอดีต และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตลอดจนพระบรมวงศานุวงค์ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับแรม ณ จังหวัดระนอง ตามลำดับดังนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ผ่านเมืองตระไปประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ บนเขานิเวศน์คีรี เมืองระนอง 3 ราตรี ในปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลปักษ์ใต้ฝั่งตะวันตก ประทับแรม ณ จังหวัดระนอง เมื่อ พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองระนอง และประทับแรม ณ จังหวัดระนอง 3 ราตรี ในปี พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรจังหวัดระนอง ประทับแรม ณ จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2502 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรท้องที่จังหวัดระนอง เป็นการส่วนพระองค์ และทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลา ที่อำเภอกระบุรี รวมทั้งประทับแรม เป็นเวลา 2 ราตรี เมื่อวันที่ 29-31 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 และเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จนำคณะ นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มาทัศนศึกษาประกอบหลักสูตรวิชาประวัติศาสตร์ ณ จังหวัดระนอง

สถานที่ท่องเที่ยว ระนอง

  • สุสานเจ้าเมืองระนอง
  • บ่อน้ำร้อน-สวนสาธารณะ
  • วัดหาดส้มแป้น
  • วัดสุวรรณคีรี
  • น้ำตกปุญญบาล
  • น้ำตกโตนเพชร
  • วนอุทยานน้ำตกหงาว
  • ศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว
  • ภูเขาหญ้าหรือเขาหัวล้าน
  • หาดชาญดำริ
  • วิคตอเรียพอยท์ หรือเกาะสอง
  • เกาะพยาม
  • เกาะช้าง
  • สวนรุกขชาติป่าชายเลน
  • ศิลาสลักพระปรมาภิไธย
  • คอคอดกระ หรือกิ่วกระ
  • ถ้ำพระขยางค์
  • น้ำตกชุมแสง หรือน้ำตกสายรุ้ง
  • น้ำตกบกกราย
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา
  • อุทยานแห่งชาติแหลมสน
  • หาดบางเบน
  • หาดแหลมสน
  • หาดประพาส หรือหาดหินทุ่ง
  • เกาะค้างคาว
  • เกาะกำตก หรือเกาะอ่าวเขาควาย
  • เกาะกำใหญ่
  • เกาะกำนุ้ย
  • เขาฝาชี
  • ซากเรือรบญี่ปุ่น
  • แหล่งน้ำร้อนธรรมชาติ

เทศกาล งานประเพณี ระนอง

งานเทศกาลกีฬา-กินปลาบ้านฉาง
จัดขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ในงานมีมหกรรมอาหารทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเลสด และการแข่งขันกีฬาที่ชายหาดพลาพยูน น้ำริน ในเขตอำเภอบ้านฉาง

งานเทศกาลเที่ยวทะเลหาดบ้านเพ-เกาะเสม็ด
จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 6 - 10 ธันวาคมของทุกปี กิจกรรมที่น่าสนใจได้แก่ การล่องเรือรอบเกาะเสม็ด มหกรรมอาหารทะเล การประกวดธิดาชาวเล และการแข่งขันฟุตบอลดารา

งานปีใหม่และงานกาชาด
จัดขึ้นในช่วงปลายเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม ณ บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัด ในงานมีนิทรรศกาลของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน การจำหน่ายสินค้าจากโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมในราคาต้นทุน และการแสดงมหรสพทุกคืนตลอดการจัดงาน 7 วัน

งานวันสุนทรภู่
จัดขึ้นในวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี บริเวณอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ต.กร่ำ อ.แกลง ในงานมีพิธีสักการะอนุสาวรีย์สุนทรภู่ นิทรรศการผลงานของสุนทรภู่ การแสดงละครในวรรณกรรม การแข่งขันอ่านทำนองเสนาะ เป็นต้น

งานห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ
จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันเพ็ญเดือน 12 ณ วัดปากน้ำ อ.เมือง จ.ระยอง โดยมีกิจกรรมสำคัญคือ การห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ การแข่งเรือยาง การลอยกระทง และการแสดงมหรสพต่างๆ

ทำบุญทอดผ้าป่ากลางน้ำ-วันลอยกระทง
พิธีทอดผ้าป่ากลางน้ำ สนุกสนานกับกิจกรรมแข่งเรือพาย มวยทะล แข่งขันฉีกปลา ประกวดแม่ม่าย เทพีชมงาน และกีฬาพื้นบ้าน ทำบุญอิ่มใจ

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
เธ—เธฐเน€เธšเธตเธขเธ™เธžเธฒเธ“เธดเธŠเธขเนŒเธญเธตเน€เธฅเธ„เธ—เธฃเธญเธ™เธดเธ„เธชเนŒ เน€เธฅเธ‚เธ—เธตเนˆ 8373549000215