เพราะตระหนักดีว่าพลังงานและสิ่งแวดล้อมถือเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เอ็กโกกรุ๊ป
จึงเปิดเวทีให้เยาวชนได้แสดงความคิดสร้างสรรค์เพื่อสิ่งแวดล้อมภายใต้ชื่อ“เอ็กโกกรีนกัมพ์แก็ดเจ็ทของประดิษฐ์คิดไม่ถึงเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม”และจัดให้มีการประกาศผลรางวัลขึ้นเมื่อวันก่อนณหอประชุมพุทธคยาอาคารอัมรินทร์พลาซ่า
วุฒิชัยสิทธิปรีดานันท์ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรเอ็กโกกรุ๊ปกล่าวถึงกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และตระหนักถึงปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่รอบตัวและเปิดโอกาสให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาโดยมีผลงานส่งเข้าประกวดกว่า500ชิ้นงานซึ่งคณะกรรมการได้ทำการตัดสินและคัดเลือกผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศจำนวน20ชิ้นก่อนตัดสินให้เหลือ7ผลงานสุดยอดของประดิษฐ์คิดไม่ถึงเพื่อพลังงานและสิ่งแวดล้อม
เริ่มที่ขวัญฤทัยวังศรัตนกาญจน์จากมหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบังเจ้าของรางวัลชนะเลิศจากผลงาน“ภาชนะลวงตา”เล่าว่าผลงานชิ้นนี้เกิดจากเศษอาหารเหลือทิ้งซึ่งส่วนหนึ่งกลายเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมจึงนำเอาเทคนิคภาพลวงตามาใช้กับภาชนะโดยตัดครึ่งภาชนะแล้วนำมาติดกระจกเงาเข้าไปทำให้ดูเหมือนว่าตักอาหารเต็มจานแต่ปริมาณอาหารลดลงทั้งนี้ยังช่วยในเรื่องการควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละมื้อตามที่ร่างกายต้องการโดยไม่เหลือสะสมไว้เป็นไขมันในร่างกายอีกด้วย
ส่วนทีมเคเคเทคจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ1กับผลงาน“ชุดควบคุมเครื่องเชื่อมเพื่อประหยัดพลังงาน”บอกว่าสิ่งประดิษฐ์นี้เกิดขึ้นจากการอยากจะหาวิธีที่ช่วยประหยัดพลังงานในเวลาพักให้แก่ช่างเชื่อมเนื่องจากในขณะทำงานเครื่องเชื่อมหนึ่งจะใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากทำให้สูญเสียพลังงานอย่างสิ้นเปลืองจึงออกแบบชุดเครื่องเชื่อมและหน้ากากโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นตัวขับเคลื่อนผ่านเซ็นเซอร์ซึ่งในอนาคตจะนำกลับไปพัฒนาและปรับปรุงวงจรให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้มีความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น
และสุดท้ายอิรวดีอินทร์เหล่าใหญ่จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเช่นกันซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน“เอโฟรแบ็ก”ที่คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ2ไปครองได้เล่าถึงที่มาของผลงานชิ้นนี้ว่าเริ่มมาจากอยากจะนำสิ่งของใกล้ตัวที่เหลือใช้โดยเฉพาะถุงพลาสติกซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและนำไปสู่ปัญหาภาวะโลกร้อนจึงเกิดความคิดว่าน่าจะนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ได้จึงนำมาประดิษฐ์เป็นหมวกที่สามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนได้อีกทั้งยังสร้างเสียงหัวเราะให้แก่คนรอบข้างอีกด้วย
ทั้งนี้ดร.สิงห์อินทรชูโตสถาปนิกและอาจารย์ด้านนวัตกรรมการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินได้กล่าวทิ้งท้ายว่าผลงานที่ส่งเข้าประกวดแต่ละชิ้นมีความโดดเด่นและน่าสนใจต่างกันหลายชิ้นสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นของใช้ที่นำความสุขมาให้แก่ผู้ใช้อีกด้วยจึงนับเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าประเทศไทยกำลังจะมีทรัพยากรบุคคลที่จะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคตได้อย่างแน่นอน
ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์