คมชัดลึก- ต้องบอกว่าหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา(นทพ.)กองบัญชาการกองทัพไทยหรือนักรบสีน้ำเงินที่ประชาชนรู้จักกันดีในนาม“กรป.กลาง”ไม่เพียงแต่ดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ห่างไกลไม่ว่าจะเป็นการสร้างเส้นทางคมนาคมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์พัฒนาแหล่งน้ำพัฒนาชุมชนระบบสาธารณูปโภคตลอดจนการช่วยเหลือประชาชนในยามเกิดภัยพิบัติโดยมีเป้าหมายที่จะให้ประชาชนช่วยตนเองได้ต่อไปเท่านั้น
แต่ยังมีภารกิจที่มีความสำคัญยิ่งนั่นคือการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆอาทิการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นต้น
โดยเฉพาะในส่วนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้รับสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเข้าดำเนินการในพื้นที่อ.ไทรโยคจ.กาญจนบุรีมาตั้งแต่วันที่6มิถุนายน2537ทั้งนี้พื้นที่ที่ถวายความพร้อมและดำเนินการอยู่ในความรับผิดชอบของกองการเกษตรและสหกรณ์สำนักงานทหารพัฒนาหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาบนเนื้อที่กว่า20,525ไร่
ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่12มกราคม2547สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชวินิจฉัยในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์พัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง2แห่งคือโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชบ้านลำตะคองต.คลองไผ่อ.สีคิ้วจ.นครราชสีมาและโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแปลง905บ้านแก่งประลอมต.ไทรโยคอ.ไทรโยคจ.กาญจนบุรี
พรชัยจุฑามาศรองผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชเผยว่าสำหรับโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชแปลง905บ้านแก่งประลอมในต.ไทรโยคนั้นหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา(นทพ.)ได้รับมอบจากโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯสวนจิตรลดาเมื่อวันที่17ธันวาคม2550จากนั้นได้มีการจัดทำแผนการดำเนินงานให้เป็นศูนย์อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรภาคตะวันตกโดยดำเนินงานตามแผนแม่บทโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชระยะเวลา5ปี(ตุลาคม2549-กันยายน2554)โดยมีพล.อ.เสถียรเพิ่มทองอินทร์ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้เข้ามาตรวจเยี่ยมและดูแลอย่างใกล้ชิด
“ในปี2552หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาได้เข้ามาดำเนินการในพื้นที่แปลง905โดยจัดสร้างบ้านพักให้แก่สมาชิกจำนวน10ครอบครัวครอบครัวละ1.5ไร่และแปลงทำการเกษตรให้ครอบครัวละ5ไร่จัดทำระบบโครงสร้างพื้นฐานได้แก่ถนนลูกรังระบบน้ำอุปโภคบริโภคระบบน้ำเพื่อการเกษตรโดยใช้ระบบประปาภูเขามีการสร้างแนววางท่อระบบประปาก่อสร้างถังเก็บน้ำฝายเก็บกักน้ำระบบไฟฟ้าส่งเสริมการทำอาชีพด้านการเกษตรมุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียงให้แก่สมาชิกและราษฎรรอบพื้นที่โครงการ”
พรชัยระบุอีกว่านอกจากนี้ยังมีการอบรมปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยใช้แนวทางคนอยู่ร่วมกับป่าและจัดตั้งชุดอาสาสมัครอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอีกทั้งยังดำเนินการก่อสร้างฝายบริเวณต้นน้ำของโครงการจำนวน225ฝายเพื่อให้เกิดความชุ่มชื้นแก่ผืนป่าเป็นแนวกันไฟป้องกันไฟป่าและเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติดำเนินการสำรวจเส้นทางเดินของสัตว์ป่าจัดทำโป่งเทียมแหล่งน้ำให้แก่สัตว์ป่าเพื่อศึกษาชีวิตสัตว์ป่าดำเนินการอนุรักษ์พันธุ์ปลาในแม่น้ำแควน้อยโดยร่วมกับประมงจ.กาญจนบุรี
ไม่เพียงเท่านั้นภายในพื้นที่โครงการยังจัดทำพื้นที่แปลงทดลองให้แก่ส่วนราชการต่างๆที่เข้าร่วมสนองพระราชดำริโดยจัดทำถนนและระบบน้ำในแปลงทดลองเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์และนำเสนอในอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เยาวชนนักเรียนเรียนรู้เพาะชำกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายปลูกตามโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้เพื่อติดตามความเจริญของต้นไม้แต่ละปีดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและเพาะเมล็ดพันธุ์พืชที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์ในศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของโครงการพร้อมทั้งบันทึกการเจริญเติบโตของพืชที่ขึ้นทะเบียนรหัสประจำต้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิจัยของโครงการและดำเนินการปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนโดยการนำเยาวชนเข้ารับการอบรมและศึกษาพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติประมาณ500คนต่อเดือน
แม้กาลเวลาจะผ่านมาถึง47ปีหลายสิ่งเปลี่ยนแปลงไปแต่สิ่งหนึ่งที่ยังดำรงอยู่อย่างมั่นคงนั่นคือจิตวิญญาณของนักรบสีน้ำเงินที่พร้อมพลีทุกสิ่งเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณรับใช้สนองเบื้องพระยุคลบาทและพร้อมให้การช่วยเหลือเพื่อแลกกับรอยยิ้มของพี่น้องประชาชนไม่ว่าจะเป็นเรื่องน้ำถนนหนทางการเกษตรการเลี้ยงสัตว์การแพทย์หรือยามเกิดภัยพิบัติ
ตลอดเวลา47ปีที่ผ่านมาทุกแผนงานทุกโครงการทุกการปฏิบัติกำลังพลของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาล้วนทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อดำรงไว้ซึ่งปณิธานอันเด็ดเดี่ยวและสืบทอดกันมาทุกๆสมัยนั่นก็คือการมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียงของประชาชนในชาตินั่นเอง
กว่าจะมาเป็น“โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช”
สืบเนื่องจากเมื่อปีพุทธศักราช2503พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมณวังไกลกังวลอ.หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์เมื่อเสด็จฯผ่านอ.ท่ายางจ.เพชรบุรีพบว่าสองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มากจึงทรงมีพระราชดำริที่จะปกปักยางนาจึงทรงทดลองปลูกต้นยางเองโดยนำเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนามาเพาะซึ่งเป็นที่มาของการปลูกป่าสาธิตทดลอง(พ.ศ.2504)การใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่ออนุรักษ์พืช(พ.ศ.2528)
การอนุรักษ์พันธุกรรมหวายและจัดทำสวนพืชสมุนไพร(พ.ศ.2529)ต่อมาในปีพ.ศ.2535สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชโดยให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณและในปีพ.ศ.2536ได้จัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของโครงการเพื่อให้สามารถนำวิทยาการใหม่ๆที่พัฒนาขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดแก่เกษตรกรไทยโดยเฉพาะเกษตรกรที่ยากจนในชนบทซึ่งมีแนวโน้มที่จะต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางการเกษตรโดยเฉพาะด้านพันธุ์พืชจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์