แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ภายในประเทศ

กมธ.?ส.ส.-ส.ว.?เตรียมเรียก ?กรมโรงงานฯ? แจง หลังพบเอี่ยวกำหนดความเข้มข้น ?ซัลเฟอร์? ( ข่าวทั่วไป )

แฉกรมโรงงานอุตสาหกรรม ทำหนังสือแจ้ง”ศุลกากร-ดีเอสไอ”และหน่วยงานเกี่ยวข้องกำหนดความเข้มข้นของการนำเข้า”ซัลเฟอร์”ก่อนประชุมกก.วัตถุอันตราย ชี้เกินขอบเขตอำนาจ กมธ.”ส.ส.-ส.ว.”เตรียมเรียกแจง หวั่นรัฐสูญค่าปรับหมื่นล้าน “กรมสอบสวนคดีพิเศษ”ยันทำคดีตามขั้นตอน เหตุล่าช้ากม.ไม่ชัดเจน พบข้อมูลหลังจับกุมกลุ่มสภาอุตฯวิ่งหาระดับบิ๊กยธ.อ้างกระทบลงทุน หวังยุติคดี

นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา โฆษกคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับ 6) พ.ศ.2552 ลงวันที่ 29 มกราคม 2552 ให้ยกเลิกรายชื่อวัตถุอัตรายซัลเฟอร์ จนเกิดข้อสงสัยในประกาศดังกล่าวอาจเอื้อบริษัทเอกชนที่ถูกกรมศุลกากรและกรมสวนสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) จับกุมและต้องถูกปรับเป็นเงินมูลค่า 10,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ว่า การที่อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ชี้แจงว่า ก่อนหน้านี้ไม่รู้ว่า ซัลเฟอร์เป็นสารควบคุม ไม่น่าจะเป็นไปได้ และไม่เชื่ออย่างแน่นอน เพราะถือว่าเป็นงานที่รับผิดชอบโดยตรง และประกาศเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมีผลต่ออุตสาหกรรมและคุณภาพชีวิตคน

“เรื่องนี้ดูแล้วมีอะไรบางอย่างชวนให้น่าสงสัย ซึ่งคณะกรรมาธิการได้รับเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาแล้ว และกำลังหาข้อมูลเพิ่มเติม โดยเฉพาะเบื้องลึกที่มาที่ไปของคำร้องเรียนจากภาคอุตสาหกรรมไปยังหน่วยราชการต่างๆ ซึ่งภาคอุตสาหกรรม ได้นัดให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการ ในวันที่ 20 มีนาคม คาดว่าผลการตรวจสอบเรื่องนี้น่าจะมีความคืบหน้าในไม่ช้า” ส.ว.สรรหาระบุ

ขณะที่ นายอภิชาต สุภาแพ่ง ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) คุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ทางกมธ.จะนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมวันที่ 26 มีนาคม เพื่อขอความเห็นชอบในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว เพราะเห็นว่าหากมีการยกเลิกสารซัลเฟอร์ออกจากวัตถุอันตราย อาจกระทบต่อคดีความต่างๆ ซึ่งรัฐอาจสูญเสียรายได้ที่เป็นเงินค่าปรับนับหมื่นล้านบาทได้

รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า ก่อนหน้าที่จะมีการออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมให้ยกเลิก “ซัลเฟอร์” ออกจากวัตถุอันตราย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมปี 2538 ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยังกรมศุลกากร และกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 ว่า ได้กำหนดคุณสมบัติของสารซัลเฟอร์ที่จะควบคุมขึ้น โดยจะควบคุมเฉพาะสารซัลเฟอร์ ที่มี CAS number 77-04-34-9 ที่มีความเข้มข้น 80% และสามารถละลายน้ำได้ทันที

“จากนั้น ในวันที่ 30 ตุลาคม 2551 ยังได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ อก 0305(2)/9188 แจ้งกรมศุลกากร กรมสอบสวนคดีพิเศษ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้ประกอบการที่นำเข้ากำมะถันเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมว่า คณะกรรมการวัตถุอันตรายเห็นชอบให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดการควบคุมสารซัลเฟอร์ให้ชัดเจนกล่าวคือ เฉพาะส่วนที่นำไปใช้ในการเกษตรซึ่งมีคุณสมบัติเป็นของแข็ง มีความเข้มข้น 80% และมีสารหรือส่วนประกอบอื่นผสมเพื่อช่วยให้แขวนลอยหรือผสมปนน้ำได้ หรืออยู่ในรูปของเหลวที่มีความใเข้มข้นตั้งแต่ 52% ขึ้นไป” รายงานข่าวระบุ

รายงานข่าวแจ้งว่า การที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมทำหนังสือถึงกรมศุลกากรและดีเอสไอ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 ถือว่าเป็นการดำเนินการก่อนการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายแจ้งกำหนดปริมาณความเข้มข้นของสารซัลเฟอร์ที่จะควบคุม เป็นการดำเนินการเกินอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฏหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย เนื่องจากการประกาศกำหนดให้สารซัลเฟอร์เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 นั้น ไม่ได้มีการกำหนดความเข้มข้นที่จะควบคุมเป็นการเฉพาะ นั่นหมายความว่าสารซัลเฟอร์ทุกความเข้มข้นเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3

“การที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีหนังสือกำหนดคุณสมบัติของสารกำมะถันที่จะควบคุมขึ้นเอง โดยไม่ได้มีการนำเสนอต่อคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อดำเนินการประกาศความเข้มข้นที่จะควบคุม และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาก่อน ซึ่งถูกมองว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ที่มิได้ดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวัตถุอันตราย ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีจากกรมศุลกากรและดีเอสไอหลายคดี” แหล่งข่าวระดับสูงระบุ
 
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ยืนยันการประกาศถอนสารซัลเฟอร์ออกจากบัญชีวัตถุอินตรายไม่มีเรื่องผลประโยชน์มาเกี่ยวข้องแต่อย่างใด และก่อนหน้าดำเนินการได้ปรึกษากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแล้ว อีกทั้งเป็นปัญหาของภาคอุตสาหกรรมที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)เสนอเข้ามา และเห็นสารซัลเฟอร์ดังกล่าวมีสถานะเป็นก้อนเพื่อนำมาใช้เฉพาะกับอุตสาหกรรมยาง ยางรถยนต์ ไม่ได้เป็นชนิดผงหรือสารละลายซึ่งใช้กับภาคเกษตรกรรมที่อาจจะมีอันตราย ส่วนจะมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองหรือไม่ เป็นเรื่องของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 9 กระทรวง   
 
“ยืนยันว่าการประกาศดังกล่าวจะไม่จะมีผลย้อนหลังไปถึงคดีที่กรมศุลกากรจะเรียกปรับกับผู้ประกอบการที่นำเข้ามาก่อนประกาศยกเลิกแน่นอน” นายชาญชัยระบุ

ด้าน พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันท์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะโฆษกดีเอสไอ กล่าวถึงกรณีเข้าจับกุมและตรวจยึดสารซัลเฟอร์จากบริษัทผลิตยางรถยนต์ ว่า ทำตามขั้นตอนของกฎหมาย เหตุที่ล่าช้า เพราะที่ผ่านมาไม่มีความชัดเจนหรือข้อกฎหมาย ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม อีกทั้งระหว่างดำเนินกคดีมีการแก้ไขประกาศกฎกระทรวงอุตสหกรรม เรื่องสารซัลเฟอร์ มาโดยตลอด และบริษัท ที่ถูกตรวจยึดก็อ้างข้อกฎหมายดังกล่าว อีกทั้งอาจจะกระทบการลงทุน แต่ดีเอสไอก็รวบรวมพยานหลักฐานอย่างต่อเนื่องไม่ได้หยุดทำดคีเพื่อไกล่เกลี่ยแต่อย่างใด

รายงานข่าวระบุว่า ภายหลังจากการจับกุมบริษัทที่นำเข้าสารซัลเฟอร์ ดีเอสไอได้รับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มสภาอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2551 ว่ากลุ่มผู้ผลิตยางได้รับความเดือดร้อนและเสียหายจากการตรวจยึดสารซัลเฟอร์ ของดีเอสไอ อีกทั้งยังอ้างถึงข้อตกลงของบีโอไอ เรื่องการค้าการลงทุน และวันที่ 30 ตุลาคม 2551 กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ยังทำบันทึกถึง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ และอธิบดีกรมศุลกากร นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมีผู้ใหญ่ในสภาอุตสาหกรรมบางราย ติดต่อเข้าพบผู้ใหญ่ระดับสูงของกระทรวงยุติธรรม เพื่อต้องการให้ดีเอสไอยุติการดำเนินคดี

 

ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215