แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ภายในประเทศ

?หนังตะลุงพอเพียง? โรงเรียนห้วยยอด ( ข่าวทั่วไป )

ภาพประกอบ ข่าวสาร ข่าวทั่วไป : ?หนังตะลุงพอเพียง? โรงเรียนห้วยยอด

คมชัดลึก:การละเล่นพื้นบ้านในพื้นที่ภาคใต้จำนวนไม่น้อยที่สาบสูญไปจากสังคมชาวใต้ยกเว้น“หนังตะลุง”ที่ดูเหมือนว่ายังได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องและน่ายินดีที่เยาวชนลูกหลานชาวใต้อย่าง“ประสิทธิ์สำนักเอี่ยว”นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5โรงเรียนห้วยยอดอ.ห้วยยอดจ.ตรัง
ที่มีความชื่นชอบหนังตะลุงถึงขนาดทุ่มเทและคลุกคลีอยู่กับวงการหนังตะลุงจนมีความสามารถทั้งเชิดและพากย์หนังตะลุงได้ถึง5ตัวในเวลาเดียวกันแถมยังสามารถพากย์ตัวละครในหนังตะลุงได้ถึง50ตัวรวมถึงแกะหนังตะลุงได้เองด้วยแม้ตัวเขาจะป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียก็ตาม
ประสิทธิ์บอกว่าสนใจการละเล่นหนังตะลุงตอนเรียนอยู่ชั้นม.1หรือเมื่อ4ปีก่อนหลังจากมีโอกาสติดตามพ่อไปดูหนังตะลุงใกล้บ้านจึงเกิดความประทับใจถึงขนาดตามไปชมหนังตะลุงที่ไปแสดงใกล้บ้านแทบทุกครั้งนอกจากนั้นยังให้พ่อซื้อวีซีดีหนังตะลุงให้ชมด้วยระหว่างนั้นได้เรียนรู้และเลียนแบบการเล่นหนังตะลุงกระทั่งทางโรงเรียนมีกิจกรรมให้นักเรียนขึ้นไปแสดงศิลปะพื้นบ้านจึงตัดกระดาษเป็นหนังตะลุงแล้วพากย์เล่นๆปรากฏว่าได้รับความสนใจจากครูและเพื่อนๆเป็นอย่างมากพอขึ้นม.2สนใจฝึกจริงจังจนสามารถตอกลายตัวหนังตะลุงได้หมดรวมถึงการตีกลองชุดตีฆ้องตีโหม่งฉิ่งกรับได้ทุกอย่าง
เมื่อประสิทธิ์ประเมินตัวเองว่าพอจะมีทักษะในเรื่องของหนังตะลุงอยู่บ้างจึงไปฝากเนื้อฝากตัวกับคณะหนังตะลุงของอ.ณรงค์ตะลุงบัณฑิตอ.ณรงค์ไปเล่นหนังตะลุงที่ไหนเขาจะตามไปทุกที่ประมาณเดือนละไม่ต่ำกว่า7งานแต่ละงานจะมีรายได้ตั้งแต่5,000-8,000บาทโดยจะได้ส่วนแบ่งงานละ2,000บาทต่อคืน
การเชิดและพากย์หนังตะลุงของประสิทธิ์นั้นจะเน้นเนื้อหาที่ปลูกฝังให้คนประหยัดอยู่ในกรอบมีศีลธรรมจ่ายเงินเท่าที่จำเป็นให้สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างน่าสนใจลักษณะตัวละครหนังตะลุงที่โดดเด่นทั้งความเลวความเห็นแก่ตัวเอารัดเอาเปรียบทั้งความดีซื่อสัตย์มีศีลธรรมอย่างชัดเจนดัดแปลงบทละครให้เข้ากับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอาทิ“นายหนูนุ้ย”ชอบคล้อยตามคนยุยงส่งเสริมหยิบยืมของคนอื่นแล้วไม่คืนต่างกับ“อ้ายเท่ง”เป็นคนพูดตรงมีศีลธรรมสอนไข่นุ้ยได้อีกทั้งยังมีความประหยัดอดออมใช้ชีวิตแบบพอเพียงตรงนี้จึงทำให้ผู้ชมต่างตั้งฉายาว่าเป็น”หนังตะลุงพอเพียง”
”ผมได้รับการบ่มเพาะจากครูในโรงเรียนห้วยยอดซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนเครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียง66แห่งตามโครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชนที่ดำเนินการโดยสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข(สรส.)และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจลจึงเห็นว่าหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ดีจึงถ่ายทอดให้คนอื่นผ่านตัวละครในหนังตะลุงนั่นเอง”ประสิทธิ์กล่าว

 

ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215