แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ภายในประเทศ

สถานการณ์ ภาคใต้ กับ รัฐบาล ประชาธิปัตย์ ปัญหา ความเลวร้าย ( ข่าวทั่วไป )

มีสถานการณ์อย่างน้อย 2 สถานการณ์ที่น่าจะทำให้ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความพลิกผัน

พลิกผันจากที่เคยเลวร้ายไปสู่จุดอันเป็นผลดี

1 คือ สถานการณ์การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 ซึ่ง ด้านหนึ่ง เป็นการโค่นอำนาจทางการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลง ขณะเดียวกัน ด้านหนึ่ง เป็นการเสนอตัวเข้ามาอย่างเต็มที่ของอำนาจทางการทหาร อำนาจภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพ

เพราะว่า สถานการณ์ภาคใต้มีจุดเลวร้ายในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 เป็นต้นมา

เพราะว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เคยกล่าวว่าหากให้อำนาจเต็มที่เขาจะแก้ปัญหาอันเป็นความเลวร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ไม่เพียงเพราะ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นผู้บัญชาการทหารบก หากแต่ยังเป็นมุสลิม

1 คือ สถานการณ์ที่กลุ่มเพื่อนเนวินเปลี่ยนขั้วสนับสนุน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนธันวาคม 2551

เพราะพรรคประชาธิปัตย์มีความเข้าใจปัญหาภาคใต้ได้ดีกว่าพรรคการเมืองอื่น มิใช่หรือ

จากเดือนกันยายน 2549 มาถึงเดือนธันวาคม 2551 เรียกตามสำนวนของ อีริก มาเรีย เรอมาร์ก ก็ต้องว่า

แนวรบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ยังไม่แปรเปลี่ยน

แม้ว่า ผู้บัญชาการทหารบก จะเปลี่ยนจาก พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน มาเป็น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ทุกอย่างก็ดำเนินไปตามวลีที่ว่า

แนวรบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่แปรเปลี่ยน

ที่น่าเศร้ายิ่งกว่านั้นก็คือ สถานการณ์จากเดือนธันวาคม 2551 มาถึงเดือนมีนาคม 2552 เมื่อพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ไม่เพียงแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พรรคประชาธิปัตย์จะเชิญมาเอง

หากพรรคประชาธิปัตย์ยังสถาปนา นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยให้มีสถานะเป็นเหมือนกับรัฐ มนตรีซึ่งรับผิดชอบสถาน การณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

กระนั้น ทุกอย่างก็ยังดำเนินไปภายใต้รูปของความเป็นจริงที่ว่า แนวรบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่แปรเปลี่ยน

เป็นเช่นนั้นได้อย่างไร

มองจากองค์ประกอบภายในอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของฝ่ายการเมือง ไม่ว่าจะเป็นในด้านของข้าราชการประจำ ถือได้ว่าเป็นเอกภาพ

ฝ่ายการเมืองอำนาจของพรรคประชาธิปัตย์มีอย่างเบ็ดเสร็จต่อปัญหาภาคใต้

ฝ่ายข้าราชการประจำ ความรับผิดชอบทั้งด้านยุทธการและการพัฒนาก็อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 แล้ว

กองทัพบกยุค พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ก็แนบแน่นยิ่งกับ พรรคประชาธิปัตย์

หากไม่แนบแน่นในระนาบจากใจถึงใจคงไม่มีข่าวลือที่ว่ารถของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณเลี้ยว เข้าไปในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ อย่างยาวนานก่อนไปโรงแรมสุโขทัยเกิดขึ้น

ยิ่งกว่านั้น งบประมาณ 60,000 ล้านบาทก็กำหนดไว้แล้วเสร็จสรรพ

แล้วเหตุใดสถานการณ์และความเลวร้ายกลับแทบไม่เห็นสัญญาณที่ดีขึ้น ไม่เพียงแต่จะมีกรณีฆ่าแล้วตัดคอเกิดขึ้นอย่างถี่ยิบเท่านั้น หากแต่ยังมีกรณียิงแล้วเผาซ้ำ เกิดขึ้นอย่างถี่ยิบ ไม่ว่าจะเป็นที่ ปัตตานี นราธิวาส หรือยะลา

หากสถานการณ์และความเลวร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นในยุคก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 เกิดขึ้นก่อนพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็มิได้เป็นเรื่องน่าประหลาดใจ

ที่น่าประหลาดใจ เพราะว่าเกิดขึ้นแม้กระทั่งในเดือนมีนาคม 2552 นี้เอง

งบประมาณมากกว่า 60,000 ล้านบาทที่เทลงไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้สะท้อนอะไร

1 สะท้อนความห่วงใย สะท้อนความเอาใจใส่ของรัฐบาลต่อประชาชนในพื้นที่ ขณะเดียวกัน 1 ยืนยันอย่างเป็นรูปธรรมถึงปัญหาที่ไม่เพียงแต่จะสงบ หากแต่มีแนวโน้มจะขยาย บานปลาย

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในยุคที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล

ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215