แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ภายในประเทศ

ตื่นเว็บเพลงมรณะ! ฟังแล้วฆ่าตัวตาย ( ข่าวทั่วไป )

ภาพประกอบ ข่าวสาร ข่าวทั่วไป : ตื่นเว็บเพลงมรณะ! ฟังแล้วฆ่าตัวตาย
ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

จากกระแสการฟังเพลงผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีมากขึ้นนั้น ล่าสุดพบว่ามีคนไทยกลุ่มหนึ่งนำบทเพลงมรณะ ที่อ้างว่ามีผู้ฟังแล้วฆ่าตัวตายกว่า 200 คน มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์หลายแห่ง ซึ่งจากการตรวจสอบ พบว่า มีการนำเพลงมรณะมาเผยแพร่จริง ชื่อเพลง ?กลูมมี่ซันเดย์? แต่งโดยชาวฮังการีผู้ผิดหวังในชีวิต เนื่องจากแฟนสาวฆ่าตัวตาย


โดยความหมายในเนื้อเพลงกลูมมี่ซันเดย์ สรุปใจความสำคัญได้ว่า เกี่ยวข้องกับวันอาทิตย์แสนเศร้า การใช้ชีวิตอยู่ในความมืดตลอดกาล ผู้ที่สูญเสียคนรักไปต้องการคนรักคืนมา แต่เทวดาคงไม่ยอม ดังนั้นคนนั้นจึงตัดสินใจที่จะไปตามหาคนรักในสวรรค์เสียเอง ขอให้ทุกคนไม่ต้องเสียใจ เพราะความตายจะทำให้เขาได้สัมผัสคนรักอีกครั้งหนึ่ง


ด้าน น.ส.เกสินี ซาวนด์โปรดิวเซอร์แห่งหนึ่ง ตั้งข้อสังเกตหลังจากฟังเพลงกลูมมี่ซันเดย์ว่า เพลงมรณะนี้มีลักษณะพิเศษคือ แต่งด้วยทำนองและเมโลดี้ที่วงการแต่งเพลงเรียกกันว่า ?เพลงดาร์ก? หรือเพลงกดดันแบบหนักหน่วง ทำให้ฟังแล้วรู้สึกหดหู่สะเทือนใจขึ้นมาอย่างรุนแรง นอกจากนี้ เสียงร้องของผู้ร้องเพลงนี้ยังมีความโหยหวนเป็นอย่างมาก จึงอาจเป็นไปได้ที่จะทำให้คนฟังบางคนอยากฆ่าตัวตาย


?เพลงนี้มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ลงตัว จึงกลายเป็นเพลงมรณะ ทำให้คนฟังอยากฆ่าตัวตายได้ เสียงร้องที่โหยหวนเป็นจุดเด่นที่สุดของเพลงนี้ รวมกับท่วงทำนองและเมโลดี้ที่ดาร์กมาก แต่เนื้อร้องไม่ได้มีอะไรพิเศษนัก ถ้าเปลี่ยนทำนองเพลงนี้เป็นแบบเพลงป๊อป หรือเปลี่ยนเสียงคนร้อง เพลงนี้ก็แทบไม่มีความรันทดเหลืออยู่เลย? ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงดนตรีกล่าววิเคราะห์


ขณะที่นายณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ นักแต่งเพลงค่ายแกรมมี่ กล่าวว่า บทเพลงที่มีเนื้อหาเศร้าสร้อยท่วงทำนองที่ฟังแล้วรู้สึกหดหู่นั้น จะมีผลต่อสภาพจิตใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก และอาจเป็นไปได้ว่า หากผู้ฟังที่อยู่ในภาวะที่เศร้า เสียใจ อกหักรักคุด หรือมีเรื่องราวที่กระทบจิตใจที่รุนแรงอาจนำไปสู่การคิดสั้นฆ่าตัวตายได้


อย่างไรก็ตาม น.พ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต ก็ได้ออกมาเตือนผู้ปกครองจับตาเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะเด็กอายุระหว่าง 12-18 ปี ที่ถือว่า เป็นวัยที่เสี่ยงที่สุด หากมีเรื่องราวที่ไม่สมหวัง ผิดหวัง เขาจะรู้สึกว่าชีวิตไม่มีค่า โดดเดี่ยว อ้างว้าง และเมื่อมีโอกาสอยู่คนเดียวก็จะคิดมากฟุ้งซ่าน และหากเจอสิ่งเร้าที่ชี้นำไปสู่การฆ่าตัวตายก็เป็นไปได้สูงที่คนกลุ่มนี้จะทำตาม

ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215