สตูล - โรงเรียนสตูลวิทยาเป็นโรงเรียนต้นแบบ “อย.น้อย” ส่งนักเรียนตรวจหาสารพิษปนเปื้อนในอาหารตามร้านอาหารของโรงเรียน และตลาด เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักใสใจดูแลความสะอาด ห่วงใยสุขภาพมากขึ้น
วันนี้ (17 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน พบมีสารปนเปื้อนในอาหารหลายรายการ ทั้งสารบอแรกซ์ สารฟอกขาว ทางโรงเรียนสตูลวิทยา อ.เมือง จ.สตูล จึงนำนักเรียนในระดับชั้นมัธยมต้น จำนวน 30 คน เข้าร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล จัดกลุ่ม อย.น้อยโดยทางโรงเรียนและคณะครูจัดเป็นชมรมขึ้นมา เพื่อเป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดออกตรวจหาสารสิ่งผิดปกติในอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะใส่อาหารภายในโรงเรียนและตามร้านค้าอาหารตามสั่งเพื่อตรวจหาสารที่สามารถเกิดอันตรายแก่ร่างกายได้
ในขณะนี้ถือว่ากลุ่มนักเรียน “อย.น้อย” มีความสำเร็จในการตรวจสอบและใส่ใจคุณภาพของอาหารในโรงเรียนและตามตลาดนัดจนได้มีการก่อตั้งชมรม อย.น้อยนี้ และมีการเพิ่มศักยภาพเครือข่าย อย.น้อยไปตามโรงเรียนต่างๆ ในระดับมัธยม และประถมในพื้นที่ จ.สตูล จำนวน 10 กว่าแห่ง และได้รับรางวัลเกียรติบัตรแสดงว่าโรงเรียนสตูลวิทยาได้เป็นโรงเรียนอย.น้อยต้นแบบจากองค์การอาหารและยามากกว่า 5 รางวัล ซึ่งเป็นการการันตีว่ากลุ่มนักเรียนอย.น้อยนี้ได้ผ่านการฝึกและเรียนรู้มาอย่างดี พร้อมกับมีจิตใจที่มีความรักและเป็นห่วงใยสุขภาพของพี่น้องของคนในจ.สตูล
ด.ญ.จีราวรรณ สุวรรณกิจ อายุ 15 ปี นักเรียนสตูลวิทยาหนึ่งในกลุ่มอย.น้อย บอกว่า ตั้งแต่ตนและเพื่อนๆ ที่ได้เข้าสมัครเป็นกลุ่ม อย.น้อยกับทางโรงเรียนรู้สึกว่าตนได้เป็นพยาบาลตัวน้อยๆที่คอยห่วงใยสุขภาพเพื่อนๆ พ่อแม่ และคนอื่นๆและได้เรียนรู้เรื่องการหาสารจากในอาหารและได้รู้ว่าอาหารชนิดไหนน่ารับประทานแล้วเกิดประโยชน์ และอาหารชนิดไหนทานแล้วเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และได้ออกลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์แก่พ่อค้าแม่ค้าตามร้านอาหารภายในโรงเรียนและตามตลาดนัดพร้อมกับควบคุมดูแล
พร้อมกับมีการแบ่งกลุ่มทำหน้าที่ออกให้บริการเช่นกลุ่มแรกจะทำการทดสอบสารต่างๆ ที่มาจากอาหารและกลุ่มที่สองจะตรวจสอบเรื่องสะอาดของพาชนะ และกลุ่มที่สามจะทำหน้าที่ออกเผยแพร่แก่ประชาชน นักเรียน เพื่อนๆ ผู้ประกอบการค้าขายอาหาร และกลุ่มที่สี่จะทำหน้าที่สรุปและทางอย.น้อยก็จะมีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายภายในโรงเรียนเพื่อให้กลุ่มนักเรียนหลายระดับได้รับทราบเรื่องความสะอาดในอาหารที่เราได้รับประทาน
ส่วนอุปกรณ์การตรวจสอบนี้ทางสำนักงานสาธารณสุข จ.สตูล จะเป็นผู้สนับสนุนเครื่องตรวจสอบหาสารพิษในอาหารและเครื่องพาชนะ และวิธีการหาสารพิษในอาหาร คือ การหาสารพิษในผักดอง โดยวิธีแรกคือนำผักดองหรือผลไม้ดองที่นำมาจากร้านอาหาร นำชุดทดลองกรดซาลิซิลิก (สีม่วง) ทั้งสองสูตร (ชุดสำรอง) และนำน้ำผักที่ดองมาใส่ถ้วยเล็ก 2 ใบ จากนั้นนำกรดซาลิซิลิค (สีม่วง) หยดในถ้วยเล็กใส่น้ำผักดองแล้วคนให้เข้ากันรอสักประมาณ 1-2 นาที ถ้าหากน้ำผักดองเปลี่ยนสีเป็นม่วงดำ แปลว่า มีสารพิษในผักดอง และผลที่เรารับประทานผักดองนี้เข้าไปแปลว่าสารพิษในน้ำผักดองนี้จะไปทำลายหรือไปกัดกระเพาะ และลำไส้ทำให้แสบกระเพาะและลำไสอักเสบเป็นแผลและอาจติดเชื้อ บวกกับทำให้ความดันโลหิตต่ำลง แต่ถ้าน้ำผักดองที่ผสมกับกรดซาลิซิลิก (สีม่วง) กลายเป็นสีแดง แปลว่าสารที่ผสมในน้ำผักดองไม่มีสารพิษเราสามารถนำไปรับประทานได้ และนี่คือการทดลองตรวจหาสารพิษในผักดองและผลไม้ดองต่างๆ
ส่วนวิธีการหาสารพิษในอาหารตามสั่งและลูกชิ้นที่น้องๆ นักเรียนที่รับประทานกันมาก คือ 1.นำอาหาร เช่น ข้าวผัด แกง ต้ม และลูกชิ้น และวันนี้จะนำตัวอย่างมาตรวจสอบคือลูกชิ้นต่างๆ 2.จากนั้นเราเตรียมอุปกรณ์การตรวจหาสารพิษในอาหารทั่วไป คือชุดทดลองสารบอแรกซ์ และกระจกแผ่นใส่ที่เขียนใส่กระดาษสีขมิ้นเหลืองจำนวน 3 แผ่น (ชิ้นเล็กๆ) ติดบนกระจกใส 3.จากนั้นเรานำลูกชิ้นที่เตรียมมาหั่นเป็นชิ้นเล็กละนำไปใส่ถ้วยเล็กๆ
จากนั้นเราเอาสารบอแรกซ์หยดลงใส่ในถ้วยเล็กที่ใส่ลูกชิ้นไว้แล้ว ละค้นให้เข้าๆกันและนำน้ำลูกชิ้น ที่สารบอแรกซ์สกัดออกมานำไปทาที่กระดาษสีขมิ้นเหลืองและตั้งเวลาไว้ 17 ชั่วโมง 4.จากการตรวจสอบถ้าพบกระดาษขมิ้นสีเหลืองเปลี่ยนสีเป็นดำแปลว่ามีสารอันตรายที่มากับลูกชิ้นหรืออาหารที่เรารับประทาน แต่ถ้ากระดาษขมิ้นสีเหลืองไม่เปลี่ยนสีแปลว่าไม่มีสารเจือปนรับประทานได้
ส่วนวิธีเหล่านี้คือการตรวจสอบหารสารพิษในอาหารและในเมื่อเราเป็นตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจ.สตูลและเป็น อย.น้อยในเมื่อเราตรวจพบสารเหล่านี้ทางกลุ่มจะมีการวางแผนและสรุปโดยนำสาเหตุที่พบสารในอาหารนำไปปรึกษาคุณครูและออกพูดคุยแก่ผู้ประกอบการค้าขายอาหาร เครื่องดื่มที่พบสารอันตรายเหล่านี้ และให้ทางผู้ประกอบการช่วยดูคุณภาพอาหารที่จัดทำ
ทางด้านนายภิญโญ จันทมุณี ผอ.โรงเรียนสตูลวิทยา กล่าวว่า โครงการอย.น้อยนี้ทางโรงเรียนมีการพลักดันให้นักเรียนสตูลวิทยามีความสนใจห่วงสุขภาพและทำที่ทางโรงเรียนจัดทำขึ้นมาผลตอบรับทำให้พ่อค้า ที่ขายอาหารภายในโรงเรียนจัดเพิ่มความสะอาดขึ้น และร้านค้าตามหน้าโรงเรียนได้เห็นความสำคัญถึงสุภาพนักเรียน ส่วนทาง อย.น้อยจะมีการออกตรวจสอบเดือนละ 2 ครั้ง ตามตลาดนัดและ ร้านอาหารภายในโรงเรียน ส่วนทางโรงเรียนมีจะมีการส่ง อย.น้อยนี้ไปฝึกการทำงานอย่างที่ถูกวิธี
ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์