แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ในแถบ อันดามัน ( ภูเก็ต, กระบี่, ระนอง, ตรัง, พังงา, สตูล )

ระนอง, ระนอง จับมือยูนิเซฟจัดตั้งอาสาต่างด้าวดูแลด้านสาธารณสุข ( ข่าวระนอง )

สาธารณสุขจังหวัดระนอง จับมือยูนิเซฟ ตั้งอาสาสมัครต่างด้าวช่วยดูแลกันเอง และเป็นสายข่าวสาธารณสุข
นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน เปิดเผยว่า จากการตรวจโรคแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องที่ผ่านมา พบว่า มีเชื้อมาลาเรียมากที่สุด รองลงมา คือ โรคทางเพศสัมพันธ์ และวัณโรค
การระบาดของโรคต่าง ๆ ในแรงงานกลุ่มนี้ จะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี มีการทำบัตรประกันสุขภาพปีละ 1,300 บาทต่อคน เมื่อมีการเจ็บป่วยก็จะกล้าเข้ามาใช้บริการของรัฐ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ส่วนผู้ที่เข้ามาไม่ถูกต้อง และเข้า-ออกตลอดเวลา สถานการณ์การระบาดของโรคจะรุนแรง เพราะเมื่อเจ็บป่วยบางครั้ง จะไม่กล้าไปใช้บริการของรัฐ ซึ่งอาจทำให้เชื้อโรคแพร่ระบาดมาอยู่คนได้เช่น วัณโรค มาลาเรีย เป็นต้น ส่วนการรักษา ก็จะมีปัญหาในเรื่องของงบประมาณด้วย
รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระนอง กล่าวว่า เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง ได้ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างประเทศ องค์การยูนิเซฟ ได้จัดตั้งอาสาสมัครต่างด้าวขึ้นมา หลังจากผ่านการอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคต่าง ๆ แล้วจะให้ไปอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ที่มีแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่แล้ว ให้หาสมาชิกเพื่อเป็นอาสาสมัครอีกทอดหนึ่ง ในลักษณะเครือข่าย ปัจจุบันมีประมาณ 50 คน เมื่อมีการระบาดของโรคใดโรคหนึ่งอาสาสมัครเหล่านี้ จะแจ้งข่าวให้เจ้าหน้าที่รับทราบทันที ซึ่งจะทำให้สามารถสอบสวนและรักษาโรคได้รวดเร็วขึ้น
นายแพทย์ธงชัย กล่าวว่า สำหรับการระบาดของโรคเอดส์ ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ปีละประมาณ 50 ราย ขณะนี้กำลังตกลงกับองค์การยูนิเซฟ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณให้กลุ่มกำลังใจ ที่เป็นผู้ติดเชื้อเอดส์ และยอมเปิดเผยตัว ไปเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ติดเชื้อที่ไม่กล้าเปิดเผยตัว โดยเฉพาะพวกที่ขายบริการทางเพศแอบแฝง ที่เป็นคนต่างด้าว

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215