แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ในแถบ อันดามัน ( ภูเก็ต, กระบี่, ระนอง, ตรัง, พังงา, สตูล )

ภูเก็ต, ภูเก็ตจัด ?มิสเตอร์เตือนภัย? ระวัง 21 จุด เสี่ยงน้ำท่วม/ดินถล่ม ( ข่าวภูเก็ต )

ภูเก็ตสร้าง ?มิสเตอร์เตือนภัย? ดูแล 21 จุดเสี่ยงดินถล่ม/น้ำท่วม พร้อมตั้งสถานีเตือนภัย เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

วันนี้ (4 ก.ย.) นายอุดมศักดิ์ อัศวรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางแผนการเตรียมการป้องกันภัยจากอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ว่า ทางจังหวัดภูเก็ต มีเวลา 1 เดือน สำหรับเตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม สืบเนื่องมาจากในปีนี้มีฝนตกหนัก และมีปริมาณน้ำฝนมากอาจจะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นได้

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ทางท้องถิ่นแต่ละตำบล ร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา ซึ่งมีการสร้าง ?มิสเตอร์เตือนภัยจังหวัดภูเก็ตขึ้น? จำนวน 9 ท้องถิ่น ในพื้นที่จุดเสี่ยงภัย 21 จุดครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัดภูเก็ต

ในพื้นที่อำเภอเมือง ประกอบด้วย ชุมชนกะรน ชุมชนกะตะ ชุมชนบางลา และชุมชนคอกช้าง ตำบลกะรน ตำบลวิชิต บ้านชิดเชี่ยว และบ้านแหลมพันวา ตำบลฉลอง บ้านวัดใหม่

ส่วนอำเภอกะทู้ ในเขตเทศบาลเมืองป่าตอง ประกอบด้วย ชุมชนสี่กอ ชุมชนกะหลิม ชุมชนไม้เรียบ ตำบลกะทู้

อำเภอถลาง ได้แก่ บ้านแหลมทราย บ้านพรุสมภาร ตำบลเทพกระษัตรี บ้านลิพอนเขาล้าน บ้านท่าเรือ บ้านลิพอนใต้ บ้านลิพอนหัวหาร ตำบลศรีสุนทร บ้านผักฉีด ตำบลป่าคลอก และบ้านหมากปรก ตำบลไม้ขาว เพื่อเป็นจุดสังเกตการณ์ในการเกิดภัยในด้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้สามารถรับมือและแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที

นายอุดมศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ทางจังหวัดภูเก็ตจะสร้างสถานีเตือนภัยเพิ่มอีก จำนวน 3 จุด ได้แก่ สถานีคลองบางใหญ่ ข้างสำนักงานสรรพสามิต หมู่บ้านเก็ตโฮ และหน้าโรงเรียนสตรีภูเก็ต เพราะทั้ง 3 จุด นี้มีความเสี่ยงสูงในการเกิดน้ำท่วม และดินถล่มในจังหวัดภูเก็ต เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

สำหรับเกณฑ์ที่ใช้จะมีอยู่ 3 เกณฑ์ด้วยกัน คือ ใช้ความสัมพันธ์ของข้อมูลน้ำฝนเฉลี่ยสถานีเหนือในพื้นที่เสี่ยง ใช้ความสัมพันธ์ข้อมูลระดับน้ำ ของสถานีเหนือน้ำเป็นสถานีเฝ้าระวังให้กับสถานีท้ายน้ำ และใช้ข้อมูลอัตราการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำในคลอง ณ สถานีที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เสี่ยงภัย

นายอุดมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในปี 2550 จังหวัดภูเก็ตได้ให้สำนักงานจังหวัด และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม และให้จัดระบบการทำงานก่อน-หลังให้เรียบร้อย โดยให้ประสานงานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะโครงการนี้เป็นโครงการที่เร่งด่วนพร้อมทั้ง ให้มีการจัดทำแผนป้องกันอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215