แหล่งรวม ธุรกิจ บริษัท ห้างร้าน และ ข้อมูล การท่องเที่ยว ในแถบ อันดามัน
 
เข้าสู่ระบบ G! Builder
เลือกจังหวัด
ข่าวสาร ข่าวทั่วไป ในแถบ อันดามัน ( ภูเก็ต, กระบี่, ระนอง, ตรัง, พังงา, สตูล )

ภูเก็ต, ?ป่าคลอก? ซ้อมแผนหนีภัยสึนามิ ( ข่าวภูเก็ต )

?อบต.ป่าคลอก? ร่วมกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย ซ้อมแผนอพยพ เด็ก และคนชรา หนีภัยสึนามิ เตรียมพร้อมรับมือหากเกิดสึนามิ
วันนี้ (4 ส.ค.) ดร.พิจิตต รัตตกุล ที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) เป็นประธานเปิดซ้อมแผนอพยพประชาชนตำบลป่าคลอก โดยสมมติเหตุการณ์ว่า เกิดธรณีพิบัติภัยสึนามิ ซึ่งทางศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันจัดขึ้น เพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับผู้สงอายุ และเด็ก ไม่กลัวกับภัยที่จะเกิดขึ้น
รวมทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการอพยพผู้ประสบภัย เจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ในการกู้ภัย และช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยมี นายวิรัช กล้าหาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล นายสุทัศน์ โพชากรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จังหวัดภูเก็ต นักเรียนโรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล คนชราจากสถานสงเคราะห์คนชราป่าคลอก พร้อมด้วยทีมกู้ภัย และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมซักซ้อมแผน ที่โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
ดร.พิจิตต กล่าวถึงผลการซ้อมแผนอพยพประชาชนตำบลป่าคลอกในครั้งนี้ ว่า เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย ชุมชน โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล และสถานสงเคราะห์คนชราป่าคลอก และจากการซักซ้อมในครั้งนี้ ทำให้เห็นได้ว่า ชุมชนกำลังเข้มแข็ง ซึ่งเท่าที่ได้สังเกตการณ์ พบว่า ผู้บริหารของทั้ง 3 หน่วยงาน ได้เข้ามาให้ความสนใจมาก แต่สิ่งที่ยังเป็นกังวล คือ คนที่จะเข้ามาช่วยเหลือต้องการช่วยเหลือครอบครัวเขาก่อนหรือเปล่า แต่เชื่อว่า การเตรียมการที่ดี อาสาสมัครถ้าช่วยผู้อื่นก่อน ก่อนช่วยครอบครัวของตัวเอง ก็จะทำให้การช่วยเหลือ และเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยไปยังที่มั่นทำได้รวดเร็วขึ้น
ดร.พิจิตต กล่าวอีกว่า ระหว่างการฝึกซ้อม ที่เห็นได้ชัด คือ โรงเรียน และคนชราได้ช่วยเหลือตัวเองก่อน ก่อนช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งทำได้ดีมาก โดยใช้เวลาในการอพยพผู้คนหลังมีสัญญาณเตือน ไปประมาณ 12 นาที ถือว่าทำได้สมบูรณ์ ซึ่งการจัดให้มีการซักซ้อมบ่อยครั้งจะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจตรงกันเมื่อมีสัญญาณเตือนภัย อีกทั้งยังทำให้ผู้สูงอายุและเด็กเกิดความคุ้นเคย ไม่กลัวภัยพิบัติ
มองในภาพรวมแล้วตนพอใจกับการซักซ้อมในครั้งนี้ค่อนข้างมาก เพราะทำให้เกิดความร่วมมือกันของแต่ละฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นจริง ส่วนข้อบกพร่องที่พบจากการซักซ้อม พบว่า ผู้สูงอายุที่กึ่งเดินกึ่งวิ่ง กับผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น ผู้สงอายุที่เดินช้า และถึงจุดมั่น(อาคารเรียนโรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล) ช้ากว่าผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็น เพราฉะนั้นอยากจะให้ปรับปรุงจุดบกพร่องนี้ โดยให้หน่วยงานรับผู้สูงอายุจากสถานสงเคราะห์ขึ้นรถมายังจุดมั่น
ส่วนในเรื่องของการรับออดสัญญาณเตือนภัย จะได้รับก่อนเกิดเหตุครึ่งชั่วโมง แต่การซักซ้อมปรากฏว่า ผู้สูงอายุไม่ได้ยินสัญญาณเตือนจากโรงเรียน จึงอยากให้มีการติดตั้งออดสัญญาณเตือนที่สถานสงเคราะห์คนชราด้วย นอกจากนี้ เมื่อผู้สูงอายุร่วม 100 คน กับเด็กอีก 200 กว่าคน ได้รับการช่วยเหลือรวมอยู่ที่จุดมั่นเดียวกันแล้ว พบว่า มีผู้สูงอายุบางรายเป็นลม ทั้งๆ ที่มีไฟฟ้า และพัดลมใช้ แต่ถ้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง ไฟดับ ไม่มีพัดลมใช้ เกรงว่า จะมีผู้สูงอายุหรือเด็ก เป็นลมเพิ่มอีกหลายราย
ดังนั้น ตนจึงได้กำหนดแผนออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 คือ ระยะสั้น เมื่อเกิดเหตุให้อพยพผู้สูงอายุโดยนำขึ้นรถจากสถานสงเคราะห์คนชรามายังจุดปลอดภัยเลย และระยะที่ 2 เพื่อป้องกันความแออัดของผู้ประสบภัยตนอาจจะอพยพผู้สูงอายุมาไว้ที่โรงเรียน หรือไม่ก็วัดป่าคลอก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ขอให้ทางโรงเรียนเปิดประตูไว้ เผื่อมีความจำเป็นต้องอพยพผู้สูงอายุเข้าไปอยู่ในโรงเรียน
นายวิรัช กล้าหาญ ผู้อำนวยการโรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล กล่าวด้วยว่า การซ้อมแผนอพยพ ทางโรงเรียนได้ซ้อมมา 2 ครั้งแล้ว และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 โดยจะเป็นการอพยพเด็กจากหอพักขึ้นไปยังอาคารหอประชุมที่เตรียมไว้ ซึ่งสามารถรองรับผู้ประสบภัยได้เป็นพันคน โดยใช้เวลาในการอพยพประมาณ 10 นาที ซึ่งเป็นที่น่าพอใจ แต่ก็ยังมีสิ่งที่ควรปรับปรุง คือ ในเรื่องของการสื่อสาร ไม่ดีเท่าที่ควร

ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์

Valid XHTML 1.0 Transitional Valid CSS!
ทะเบียนพาณิชย์อีเลคทรอนิคส์ เลขที่ 8373549000215