ภูเก็ต, ?สุวัจน์?เปิดประติมากรรม ?สึนามิ? ริมหาดกมลา ( ข่าวภูเก็ต )
?สุวัจน์?เปิดประติมากรรมอนุสรณ์สึนามิหาดกมลา หวังเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าชม
เมื่อเวลา 9.30 น. วันนี้ ( 22 ก.ค ) นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดอนุสรณ์สถานภัยพิบัติสึนามิ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมจัดสร้างขึ้น โดยการปรับปรุงจุดท่องเที่ยว(Tourist Spot) ในบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ที่บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี หาดกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ร่วมพิธี
สำหรับการติดตั้งประติมากรรมอนุสรณ์สถานภัยพิบัติสึนามิที่บริเวณหาดกมลา เพื่อเป็นอนุสรณ์เตือนใจให้รำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว รวมทั้งเพื่อเป็นสถานที่แห่งการไว้อาลัย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสให้เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
สำหรับประติมากรรมที่ติดตั้งในครั้งนี้ เป็นประติมากรรมของศิลปิน ?อุดร จิรักษา? ชื่อ ผลงาน ?จิตจักรวาล? ซึ่งในการจัดทำใช้เทคนิคการเชื่อมโลหะแสตนเลส ขนาด : 2.20 x 6 x 6 เมตร ลักษณะเป็นการทรงกลมมีเหล็กเชื่อมโยงทั้งรูปทรง ภายในใจกลางรูปทรงใช้รูปทรงของวงรีเพื่อสื่อถึงแกนและแรงหนุนของโลก โดยรูปทรงภายในจะมีลักษณะซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ และมีการเชื่อมโยงกันตลอดเวลา หากมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็จะส่งผลกระทบไปทั่ว
นายอุดร จิรักษา ศิลปินผู้สร้างสรรค์ปกระติมากรรมกล่าวถึงแนวคิดในการสร้างประติมากรรมในครั้งนี้ ว่า สิ่งที่มนุษย์เรียกว่าภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้น เกิดจากการปรับเปลี่ยนทางธรรมชาติเพื่อความสมดุลและการดำรงอยู่ของพิภพเอง พลศาสตร์ของสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งเดียวกัน ส่งผลเชื่อมโยง ถ่ายเท แปรเปลี่ยนและเป็นพลวัตต่อกัน นับจากโครงสร้างอะตอ กายภาพทางเคมี พฤติกรรมมนุษย์ จนถึงระดับชั้นในจักรวาล เป็นวัฎจักรกลไกของชีวิตที่เชื่อมโยงรวมกันกลับไปสู่ความเป็นหนึ่งเสมอ
จากประเด็นแก่นสารนี้ จึงได้สร้างผลงานประติมากรรมอนุสรณ์สถานสึนามิ โดยใช้รูปทรงกลมที่มีลักษณะเป็นเส้นเชื่อมโยงกันทั้งรูปทรง ภายในใจกลางใช้รูปทรงของวงรี เพื่อต้องการสื่อถึงแกนและแรงหนุนของโลกที่หมุนรอบตัวเองและดวงอาทิตย์ที่สัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กทั้งหลายในจักรวาลซึ่งต่อเนื่องกันออกไป
?ข้าพเจ้าได้ใช้รูปทรงของเส้นคลื่นในการนำเสนอถึงสิ่งที่มนุษย์เรียกว่า ?ภัยพิบัติสึนามิ? ซึ่งทุกสิ่งย่อมมีเหตุมีผล (อิทิปปัจจยตา) แม้แต่การสูญเสียของชีวิตและสรรพสิ่งต่างๆ แต่ในการสูญเสียนั้นย่อมมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นแทนที่ควบคู่กัน?
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า นับแต่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการส่งเสริมการนำมิติทางวัฒนธรรมเข้าไปร่วมฟื้นฟูและเยียวยาผู้ประสบภัย ตามกรอบยุทธศาสตร์การฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยมุ่งหวังให้ศิลปะเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือกล่อมเกลาจิตใจ ตลอดจนสร้างสุนทรีย์แก่ผู้ประสบภัยให้เกิดความอ่อนโยน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจ และเป็นสื่อนำการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเข้าสู่พื้นที่ โดยดำเนินการผ่านกิจกรรมและโครงการที่หลากหลาย อาทิ โครงการประกวดศิลปะร่วมสมัย ?เอกลักษณ์อันดามัน?,การค่ายภาพยนตร์และผลิตภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับสึนามิ,การจัดนิทรรศการดอกไม้บานที่อันดามัน และการจัดแสดงผลงานศิลปะบนหาดทราย(Art on the Beach),การจัดโครงการถนนสายวัฒนธรรมและการจัดพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสรณ์สถานสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2548
ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์