ศูนย์ข่าวภูเก็ต-ภูเก็ตกำหนดปล่อยเต่าตนุยักษ์กลับลงทะเลประมาณกลางเดือนพ.ค.นี้หลังเจ้าหน้าที่เฝ้าดูแลจนอาการเกือบปกติขณะที่เจ้าหน้าที่อีกส่วนเฝ้าติดตามอาการโลมาลายแถบป่วยที่จังหวัดระนองอย่างใกล้ชิดพร้อมเผยพบลูกวาฬหัวทุยแคระเกยตื่นตายอีก1ตัวรอผ่าพิสูจน์
น.ส.กาญจนาอดุลยานุโกศลหัวหน้ากลุ่มสัตว์ทะเลหายากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งทะเลและป่าชายเลนจ.ภูเก็ตกล่าวถึงความคืบหน้าการช่วยชีวิตเต่าตนุอายุกว่า50ปีซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่และได้บาดเจ็บจากใบพัดเรือฟันเมื่อเร็วๆนี้ว่าหลังจากเจ้าหน้าที่ได้ช่วยกันดูแลและปฐมพยาบาลเต่าตัวดังกล่าวอย่างใกล้ชิดปรากฏว่าขณะนี้เตาตะนุยักษ์มีอาการปลอดภัยแล้ว90%รอเพียงให้บาดแผลที่ถูกใบพัดเรือฟันที่บริเวณกระดองและหัวสมานสนิทเท่านั้นหลังจากนั้นก็สามรถปล่อยกลับสู่ทะเลได้
อย่างไรก็ตามการปล่อยเต่าตนุกลับลงสู่ทะเลนั้นทางศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่5ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ช่วยชีวิตเต่าทะเลตัวดังกล่าวมาจะจัดให้มีการปล่อยเต่ากลับสู่ทะเลประมาณกลางเดือนพ.ค.ซึ่งนอกจากจะเป็นการปล่อยเต่ากลับสู่ธรรมชาติเพื่อให้กลับไปขยายพันธ์และเพิ่มจำนวนประชากรเต่าทะเลแล้วยังเป็นการช่วยสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วยและปัจจุบันนี้สถานการณ์เต่าทะเลอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง
นางสาวกาญจนายังกล่าวต่อไปว่าในช่วงเดือนเม.ย.นอกจากจะรับเต่าตนุมาดูแลรักษาแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ได้รับลูกวาฬหัวทุยแคระเพศเมียขนาดยาว1เมตรหนัก20กิโลกรัมซึ่งขึ้นมาเกยตื้นที่บริเวณหาดบางเทาต.เชิงทะเลอ.ถลางจ.ภูเก็ตซึ่งตอนรับมานั้นวาฬดังกล่าวยังมีชีวิตอยู่แต่เมื่อมาถึงสถาบันวาฬได้เสียชีวิตลงซึ่งคาดว่าจะมีอาการป่วยมาก่อนขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอผ่าพิสูจน์เพื่อหาสาเหตุการตายของวาฬหัวทุยแคระดังกล่าว
นอกจากนั้นขณะนี้เจ้าหน้าที่จากกลุ่มสัตว์ทะเลหายากกำลังเร่งช่วยชีวิตโลมาลายแถบเพศผู้ขนาดยาว2เมตรซึ่งขึ้นมาเกยตื้นที่จังหวัดระนองตั้งแต่วันที่24เม.ย2552ที่ผ่านมาโดยนำมาปฐมพยาบาลที่มูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ป่าบ้านทะเลนอกหาดสุขสำราญอ.สุขสำราญจ.ระนองซึ่งขณะนี้โลมาดังกล่าวยังไม่สามารถพยุงตัวว่ายน้ำเองได้เจ้าหน้าที่ต้องเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดคาดว่าโลมาดังกล่าวน่าจะมีอาการป่วยเรื้อรังเพราะใช้เวลาในการรักษานานแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้นเลย
ข้อมูลจาก : ผู้จัดการออนไลน์